ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz

* Simple Machines Forum
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  • หน้าแรก
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก

  • ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz »
  • ข้อมูลข่าวสารทั่วไป »
  • เตือนภัยใกล้ตัวและฟ้องด้วยภาพ »
  • กระทรวงสาธารณสุข เผยเจอน้ำยาฉีดศพในอาหารสด หลังลงตรวจสุ่มสำรวจ เร่งดำเนินการทางกฎหมายเด็ดขาด
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
  • พิมพ์
หน้า: [1]   ลงล่าง

ผู้เขียน หัวข้อ: กระทรวงสาธารณสุข เผยเจอน้ำยาฉีดศพในอาหารสด หลังลงตรวจสุ่มสำรวจ เร่งดำเนินการทางกฎหมายเด็ดขาด  (อ่าน 2313 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ kaentong

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 449708
    • ดูรายละเอียด
กระทรวงสาธารณสุข เผยเจอน้ำยาฉีดศพในอาหารสด หลังลงตรวจสุ่มสำรวจ เร่งดำเนินการทางกฎหมายเด็ดขาด
« เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2014, 15:00:05 »


กระทรวงสาธารณสุข เผย เจอน้ำยาฉีดศพ ในอาหารสด หลังลงตรวจสุ่มสำรวจ เร่งดำเนินการทางกฎหมายเด็ดขาด
 
น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในปี 2557 นี้ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายควบคุมความปลอดภัยอาหารบริโภค ซึ่งอาหารเป็นปัจจัยสี่จำเป็นของการสร้างสุขภาพดี และทำลายสุขภาพประชาชนไปพร้อม ๆ กัน หากมีสารอันตราย หรือมีเชื้อโรคปนเปื้อน เนื่องจากขณะนี้พบว่า ประชาชนป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากเป็นอันดับ 1 ซึ่งสาเหตุของโรคดังกล่าว เกิดมาจากการบริโภคอาหารด้วย การเสียชีวิตยังไม่มีวี่แววจะลดลง โดยกระทรวงฯ จะดูแลทั้งอาหารนำเข้าอาหารที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ ให้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ สุ่มตรวจเฝ้าระวังอาหารอย่างต่อเนื่อง เน้นสารอันตรายที่เป็นปัญหา มักมีการลักลอบใส่ในอาหารสด 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง สารกันรา สารฟอร์มาลีน (Formalin) และสารเร่งเนื้อแดง
 
น.พ.ณรงค์ กล่าวว่า ได้รับรายงานผลการสุ่มตรวจประเมินอาหารปลอดภัยของกรมอนามัยในช่วงปลายเดือนมกราคม 2557 ในตลาดที่ จ.นครสวรรค์ 5 แห่ง ที่ อ.เมือง อ.ท่าตะโก อ.ชุมแสง ประกอบด้วย ตลาดสด 2 แห่ง และตลาดนัด 3 แห่ง โดยเก็บอาหารตรวจทั้งหมด 275 ตัวอย่าง ผลการตรวจไม่พบ มีการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ และสารฟอกขาว แต่ที่น่าตกใจคือ พบการใช้สารฟอร์มาลีน หรือน้ำยาฉีดศพ น้ำยาดองศพ มาใช้กับอาหารสด เพื่อไม่ให้เน่าเสียง่าย โดย 5 ตลาด ตรวจพบ 102 ตัวอย่าง เฉลี่ยร้อยละ 25 บางแห่งเช่นในตลาดสดขนาดใหญ่ในเมือง พบร้อยละ 59 อาหารที่ตรวจพบได้แก่ กุ้ง ปลาหมึก ปลาหมึกกรอบ ขิงหั่นฝอย กระชายหั่นฝอย เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหอมสด ถั่วฝักยาว สไบนาง จึงถือว่าเป็นเรื่องที่มีอันตรายมาก เป็นการใช้สารฟอร์มาลีนผิดวัตถุประสงค์ และห้ามใช้ในอาหารอย่างเด็ดขาด เนื่องจากสารชนิดนี้มีอันตรายสูง เป็นสารก่อมะเร็ง สารชนิดนี้เป็นอันตรายทั้งคนใช้ แม่ค้า และผู้บริโภค จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเข้มงวดจริงจัง และให้สาวถึงแหล่งต้นตอให้ได้ เพื่อลงโทษให้เด็ดขาด
 
ที่มา : http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=518559
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มีนาคม 2014, 07:00:43 โดย kaentong »
บันทึกการเข้า

ออฟไลน์ kaentong

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 449708
    • ดูรายละเอียด
Re: ระทรวงสาธารณสุข เผยเจอน้ำยาฉีดศพในอาหารสด หลังลงตรวจสุ่มสำรวจ เร่งดำเนินการทางกฎหมายเด็ดขาด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2014, 23:34:35 »
อันตราย  อาหารที่ตรวจพบได้แก่ กุ้ง ปลาหมึก ปลาหมึกกรอบ ขิงหั่นฝอย กระชายหั่นฝอย เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหอมสด ถั่วฝักยาว สไบนาง
บันทึกการเข้า

ออฟไลน์ kaentong

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 449708
    • ดูรายละเอียด
Re: กระทรวงสาธารณสุข เผยเจอน้ำยาฉีดศพในอาหารสด หลังลงตรวจสุ่มสำรวจ เร่งดำเนินการทางกฎหมายเด็ดขาด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 03 มีนาคม 2014, 07:00:56 »

อันตราย  อาหารที่ตรวจพบได้แก่ กุ้ง ปลาหมึก ปลาหมึกกรอบ ขิงหั่นฝอย กระชายหั่นฝอย เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหอมสด ถั่วฝักยาว สไบนาง
บันทึกการเข้า

ออฟไลน์ kaentong

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 449708
    • ดูรายละเอียด
Re: กระทรวงสาธารณสุข เผยเจอน้ำยาฉีดศพในอาหารสด หลังลงตรวจสุ่มสำรวจ เร่งดำเนินการทางกฎหมายเด็ดขาด
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 10 มีนาคม 2014, 00:29:49 »



กระทรวงสาธารณสุข เผย เจอน้ำยาฉีดศพ ในอาหารสด หลังลงตรวจสุ่มสำรวจ เร่งดำเนินการทางกฎหมายเด็ดขาด
 
น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในปี 2557 นี้ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายควบคุมความปลอดภัยอาหารบริโภค ซึ่งอาหารเป็นปัจจัยสี่จำเป็นของการสร้างสุขภาพดี และทำลายสุขภาพประชาชนไปพร้อม ๆ กัน หากมีสารอันตราย หรือมีเชื้อโรคปนเปื้อน เนื่องจากขณะนี้พบว่า ประชาชนป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากเป็นอันดับ 1 ซึ่งสาเหตุของโรคดังกล่าว เกิดมาจากการบริโภคอาหารด้วย การเสียชีวิตยังไม่มีวี่แววจะลดลง โดยกระทรวงฯ จะดูแลทั้งอาหารนำเข้าอาหารที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ ให้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ สุ่มตรวจเฝ้าระวังอาหารอย่างต่อเนื่อง เน้นสารอันตรายที่เป็นปัญหา มักมีการลักลอบใส่ในอาหารสด 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง สารกันรา สารฟอร์มาลีน (Formalin) และสารเร่งเนื้อแดง
 
น.พ.ณรงค์ กล่าวว่า ได้รับรายงานผลการสุ่มตรวจประเมินอาหารปลอดภัยของกรมอนามัยในช่วงปลายเดือนมกราคม 2557 ในตลาดที่ จ.นครสวรรค์ 5 แห่ง ที่ อ.เมือง อ.ท่าตะโก อ.ชุมแสง ประกอบด้วย ตลาดสด 2 แห่ง และตลาดนัด 3 แห่ง โดยเก็บอาหารตรวจทั้งหมด 275 ตัวอย่าง ผลการตรวจไม่พบ มีการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ และสารฟอกขาว แต่ที่น่าตกใจคือ พบการใช้สารฟอร์มาลีน หรือน้ำยาฉีดศพ น้ำยาดองศพ มาใช้กับอาหารสด เพื่อไม่ให้เน่าเสียง่าย โดย 5 ตลาด ตรวจพบ 102 ตัวอย่าง เฉลี่ยร้อยละ 25 บางแห่งเช่นในตลาดสดขนาดใหญ่ในเมือง พบร้อยละ 59 อาหารที่ตรวจพบได้แก่ กุ้ง ปลาหมึก ปลาหมึกกรอบ ขิงหั่นฝอย กระชายหั่นฝอย เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหอมสด ถั่วฝักยาว สไบนาง จึงถือว่าเป็นเรื่องที่มีอันตรายมาก เป็นการใช้สารฟอร์มาลีนผิดวัตถุประสงค์ และห้ามใช้ในอาหารอย่างเด็ดขาด เนื่องจากสารชนิดนี้มีอันตรายสูง เป็นสารก่อมะเร็ง สารชนิดนี้เป็นอันตรายทั้งคนใช้ แม่ค้า และผู้บริโภค จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเข้มงวดจริงจัง และให้สาวถึงแหล่งต้นตอให้ได้ เพื่อลงโทษให้เด็ดขาด
 
ที่มา : http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=518559

บันทึกการเข้า

  • พิมพ์
หน้า: [1]   ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
  • ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz »
  • ข้อมูลข่าวสารทั่วไป »
  • เตือนภัยใกล้ตัวและฟ้องด้วยภาพ »
  • กระทรวงสาธารณสุข เผยเจอน้ำยาฉีดศพในอาหารสด หลังลงตรวจสุ่มสำรวจ เร่งดำเนินการทางกฎหมายเด็ดขาด
 

Tweet
Stats for kaentong.com


  • SMF 2.0.18 | SMF © 2011, Simple Machines
    Simple Audio Video Embedder
  • XHTML
  • RSS
  • WAP2