ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz

* Simple Machines Forum
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  • หน้าแรก
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก

  • ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz »
  • Profile of ศรัทธาธรรม »
  • แสดงกระทู้ »
  • Topics
  • ข้อมูลส่วนตัว
    • Summary
    • แสดงสถิติ
    • แสดงกระทู้...
      • Messages
      • Topics
      • Attachments

แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

  • Messages
  • Topics
  • Attachments

Topics - ศรัทธาธรรม

หน้า: [1] 2
1
ภาพกิจกรรม สังสรรค์ และงาน EYEBALL / ชมรมจิตอาสาโรงพยาบาลราชพฤกษ์ ร่วมงานทอดผ้าป่าสามัคคี ณ อ.ชนบท
« เมื่อ: 28 พฤษภาคม 2013, 08:44:51 »
ชมรมจิตอาสาโรงพยาบาลราชพฤกษ์ จังหวัดขอนแก่น

นำโดย คุณสมบูรณ์ น่านน้อง ,HS4YFT,HS4YTT,HS4ZRY,HS4RUU
พร้อมสมาชิกร่วมสมทบ HS4DUW,HS4GSB

ร่วมงานทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดอรุณวนาราม
บ้านโนนแดงน้อย ต.บ้านแท่น อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖














2
ประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรมและเทศกาลงานบุญ / บรรยากาศงานพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ วัดท่ายาราม บ้านโคกท่า
« เมื่อ: 03 มกราคม 2013, 08:28:33 »
ภาพบรรยากาศงานพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ วัดท่ายาราม
บ้านโคกท่า ต.หนองตูม อ.เมือง จ.ขอนแก่น
วันอังคารที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖









3
ข่าว ประชาสัมพันธ์ และปฏิทินกิจกรรม / ขอเชิญร่วมสั่งจองรูปเหมือนหลวงปู่ใด ปัญญาธโร
« เมื่อ: 02 มกราคม 2013, 09:07:56 »
ขอเชิญร่วมสั่งจองรูปเหมือนหลวงปู่ใด ปัญญาธโร
ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว จัดสร้างจำนวน ๙๙ องค์ บูชาองค์ละ ๑,๙๙๙ บาท
ณ วัดป่านิมิตธรรม บ้านหนองผือ ต.ทุ่งโป่ง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ๐๘๑-๐๕๘๑๘๓๗

4
ประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรมและเทศกาลงานบุญ / ขอเชิญร่วมสร้างพระธาตุนิมิตตังคะเจดีย์ ณ วัดป่านิมิตธรรมอ.อบุลรัตน์ จ.ขอนแก่น
« เมื่อ: 18 ธันวาคม 2012, 12:04:01 »
ขอเชิญร่วมสร้างพระธาตุนิมิตตังคะเจดีย์
ณ วัดป่านิมิตธรรม อ.อบุลรัตน์ จ.ขอนแก่น























หลวงปู่ทองสุข (หลวงปู่ใด) ปัญญาธโร



5
ขอแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์ / ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว"เพียโคตร-โชติทอง"
« เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2012, 09:18:21 »
ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว"เพียโคตร-โชติทอง"

งานฌาปนกิจ "นายจักรกริช เพียโคตร (โก้)" เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว
เมื่อช่วงย่างเข้าวันใหม่ของวันที่ 30 พย 55 ขณะนำส่งโรงพยาบาล
ในจังหวัดนครราชสีมา (ซึ่่งคุณแม่ของผู้เสียชีวิตมีศักดิ์เป็น "คุณอา ของ HS4DRY")














6
ประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรมและเทศกาลงานบุญ / ขอเชิญร่วมบุญ"ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน" ณ วัดป่านิมิตธรรม
« เมื่อ: 24 ตุลาคม 2012, 18:44:16 »
ขอเชิญร่วมทำบุญวันออกพรรษา"ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน" ณ วัดป่านิมิตธรรม
(วัดหลวงปู่ใด บ้านหนองผือ ต.ทุ่งโป่ง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น)
วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2555 เริ่มเวลา 21.00 น.
พิธีตักบาตร ข้าวสาร อาหารแห้ง บูชาองค์พระอุปคุต










7
หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์ / อานิสงส์ของการบวชพระ บวชชีพราหมณ์
« เมื่อ: 26 มิถุนายน 2012, 17:47:40 »
อานิสงส์ของการบวชพระ บวชชีพราหมณ์

๑.หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยส สรรเสริญ ตามปรารถนา
๒.เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย
๓.สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย
๔.เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆไป
๕.สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา
๖.จิตสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต
๗.เป็นที่รักเมตตามหานิยมของมวลมนุษย์ มวลสัตว์ และเหล่าเทวดา
๘.ทำมาค้าขึ้นไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ
๙.โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย
๑๐.ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่ สำหรับผู้บวชไม่ได้เพราะติดภารกิจต่างๆ
ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ด้วยการสร้างคนให้ได้บวช สนับสนุนส่งเสริมอาสาการให้คนได้บวช

8
หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์ / คำว่า "ผ้าป่า" หมายถึง
« เมื่อ: 26 มิถุนายน 2012, 17:14:55 »
คำว่า "ผ้าป่า" หมายถึง

ผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเอง
โดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป
ผ้าป่า เรียกดังนี้เพราะถือคติโบราณ คือสมัยพุทธกาลผ้าหายาก ภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามป่าช้าบ้าง ตามทางเดินในป่าบ้าง มาทำจีวรนุ่งห่ม คนใจบุญสมัยนั้นจึงนำผ้าไปแขวนไว้ตามต้นไม้ข้างทางที่พระเดินผ่าน ทำนองว่าทิ้งแล้วพระไปพบเข้าจึงหยิบไปทำจีวร โดยถือว่าเป็นผ้าไม่มีเจ้าของ
ผ้าชนิดนั้นเลยเรียกว่า ผ้าป่า
กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า ชักผ้าป่า
ทอดผ้าป่า คือ กริยาที่ถวายผ้าแบบนั้น และนิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินด้วย


http://th.wikipedia.org/wiki


9
หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์ / อานิสงส์ของการจัดสร้างพระพุทธรูปหรือสิ่งพิมพ์
« เมื่อ: 25 มิถุนายน 2012, 18:49:34 »
อานิสงส์ของการจัดสร้างพระพุทธรูป
หรือสิ่งพิมพ์อันเกี่ยวกับพระธรรมคำสั่งสอน

๑.อกุศลกรรมในอดีตชาติแต่ปางก่อน จากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ
๒.สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง สรรพภยันตรายสลายปวงภัยไม่มี คนคิดร้ายไม่สำเร็จ
๓.เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติแต่ปางก่อน เมื่อได้รับส่วนบุญไปแล้ว ก็จะเลิกจองเวรจองกรรม
๔.เหล่ายักษ์ผีรากษส งูพิษ เสือร้าย ไม่อาจเป็นภัย อยู่ในที่ใดก็แคล้วคลาดจากภัย
๕.จิตสงบ ราศีผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจกรรมงานเป็นมงคล รุ่งเรืองก้าวหน้าผู้คนนับถือ
๖.มั่งคงในคุณธรรม ความอุดมสมบูรณ์ปรากฏ (เกินความคาดฝัน) ครอบครัวสุขสันต์ วาสนายั่งยืน
๗.คำกล่าวเป็นสัจจะ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพยินดี มิตรสหายปรีดา หนี้สินจะหมดไป
๘.คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็ญ สตรีจะได้เกิดเป็นชายเพื่อบวช
๙.พ้นจากมวลอกุศล เกิดใหม่บุญเกื้อหนุน มีปัญญาล้ำเลิศ บุญกุศลเรื่องรอง
๑๐.สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็นกุศลจิต แก่ทุกคนที่ได้พบเห็น เป็นเนื้อนาบุญอย่างเอนกทุกชาติของผู้จัดสร้าง
ที่เกิดจะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้า ปัญญาในธรรมแก่กล้าสามารถได้อภิญญาหก สำเร็จโพธิญาณ

10
หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์ / นิทานธรรมะ
« เมื่อ: 21 มิถุนายน 2012, 18:56:46 »
นิทานธรรมะ
เรื่อง ประวัติ นางวิสาขา
ตอนที่ ๑




นางวิสาขา     เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา   เกิดในตระกูลเศรษฐีในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ
บิดาชื่อว่า  ธนญชัย  มารดา สุมนาเทวี และปู่ชื่อ  เมณฑกเศรษฐี    ขณะที่เธอมีอายุอยู่ในวัย ๗ ขวบ        เป็นที่รักดุจแก้วตาดวงใจของเมณฑกะผู้เป็นปู่ยิ่งนัก   
๗ ขวบบรรลุโสดาบัน    
เมื่อ เมณฑกเศรษฐี ได้ทราบข่าวว่า   พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมากกำลังเสด็จมาสู่
เมืองภัททิยะ   ท่านเมณฑกเศรษฐี จึงได้มอบหมายให้เด็กหญิงวิสาขา พร้อมด้วยบริวาร ออกไปทำการรับเสด็จที่นอกเมือง   ขณะที่พระพุทธองค์ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่นั้น   เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร   เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ  ที่อันสมควรแก่ตน   พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พวกเธอฟัง   เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด                             
  ส่วนเมณฑกเศรษฐี   เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้า   ได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน  แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต  ณ ที่บ้านของตนตลอดเวลาระยะ ๑๕ วันที่ประทับอยู่ที่ภัททิยนครนั้น                          

11
จิปาถะนานาประสบการณ์ / กำเนิดวัน
« เมื่อ: 21 มิถุนายน 2012, 18:33:03 »
กำเนิดวัน
วัน ที่เราใข้กันอยู่ในปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วโลก มีทั้งหมด ๗ วัน
จะต่างก็แต่ชื่อที่ใช้เรียกเท่านั้น คือ

วันอาทิตย์        เป็นวันที่  ๑
วันจันทร์          เป็นวันที่  ๒
วันอังคาร         เป็นวันที่  ๓
วันพุธ             เป็นวันที่  ๔
วันพฤหัสบดี     เป็นวันที่  ๕
วันศุกร์            เป็นวันที่  ๖
วันเสาร์           เป็นวันที่  ๗


ชื่อวันทั้ง ๗ นี้ ไทย เรียกตาม คัมภีร์โหราศาสตร์ สืบมาแต่โบราณกาล  อันสืบเนื่องจาก คัมภีร์พราหมณ์   เพราะชื่อวันก็บ่งบอกว่าเป็น ภาษาบาลี-สันสกฤต ตามภาษาโหรใช้คำเรียกดังนี้
อาทิตย์       เรียกว่า  ระวิ,สุริย
จันทร์         เรียกว่า  ศศิ,จันเทา
อังคาร        เรียกว่า  ภุมมะ
พุธ            เรียกว่า   พุธะ
พฤหัสบดี    เรีกยว่า   ชีวะ,ครู
ศูกร์           เรียกว่า   ศุกระ
เสาร์          เรียกว่า   เสาระ,เสารี 

12
หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์ / คำที่ใช้เรียก"พระภิกษุ"
« เมื่อ: 21 มิถุนายน 2012, 17:55:25 »
คำที่ใช้เรียก "พระภิกษุ"

ภาคเหนือ
คำว่า "ครูบา" ตามประเพณีล้านนา เป็นตำแหน่งที่คณะสงฆ์พิจารณาแต่งตั้ง โดยพิจารณาว่าพระรูปนั้นได้ทำ
ประโยชน์ให้กับสังคม และชาวบ้านให้ความยอมรับนับถือ โดยมากจึงเป็นพระที่มีพรรษามาก
และประเพณีเดิม หากครูบารูปนั้นมีเชื้อสายเจ้า ก็จะเรียกว่า "ครูบาเจ้า" แต่ภายหลังชาวบ้านจะใช้คำว่าครูบาเจ้าในความหมายว่าเป็นครูบาที่เคารพนับถือสูงสุดด้วย

ปัจจุบัน ไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งครูบาเป็นทางการอีก  มีแต่ชาวบ้านที่นับถือภิกษุรูปใดมากเป็นพิเศษก็จะเรียกกันไปเอง ถ้าได้รับการยอมรับก็จะเรียกกันในวงกว้าง แต่ถ้าไม่ได้รับการยอมรับก็เรียกกันไม่กี่คนแล้วเงียบหายไปเอง
คำว่า ครูบา มาจากภาษาบาลีว่า ครุปิ อาจาริโย หรือ ครุปา แล้วก็เพี้ยนเป็น ครูบา 


ภาคอีสาน
คำว่า ครูบา ไม่ใช่ว่ามีการใช้แพร่หลายจากเหนือไปทางอีสาน แต่ทางอีสานเขาก็มีคำนี้อยู่แล้ว เพียงแต่คนละวัฒนธรรม ความหมายจึงต่างกัน
คำว่า "ครูบา" ในประเพณีอีสาน หมายถึง
พระบวชใหม่ไม่เกิน 10 พรรษา
10 พรรษาขึ้นไป เรียก "อาจารย์"
20 พรรษาขึ้นไป เรียก "ครูจารย์"
30 พรรษาขึ้นไป เรียก "พ่อแม่ครูอาจารย์"

ปัจจุบัน ภาคอีสานจะเหลือแค่ ครูบา อาจารย์ และถ้าพรรษาเยอะ อายุเยอะ (60 ปีขึ้นไป) จะเรียกว่า หลวงปู่
แต่หากพระรูปนั้นมีครอบครัวมาก่อนบวชจะเรียกว่า หลวงตา (ต่างจากภาคกลางที่เรียกว่า หลวงตา ยกเว้นจะเป็นญาติตัวเองในระดับปู่ จึงจะเรียกว่า หลวงปู่)
นอกจากนี้ ในภาคอีสานยังมีคำเรียกพระ ว่า สำเร็จ ยาซา ยาคู ราชคู คำเรียกพวกนี้เป็นสมณศักดิ์ ปัจจุบันของไทยไม่มีแล้ว แต่ยังมีทางฝั่งลาว


http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=08b139d12df6bc6f

13
หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์ / คำว่า "บังสุกุล" แปลว่า
« เมื่อ: 20 มิถุนายน 2012, 18:50:30 »
คำว่า "บังสุกุล" แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น  เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือ พิจารณาผ้าบังสุกุล (ดูมาติกา-บังสุกุล)
คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กุล (อ่านว่า กุ-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกุล (อ่านว่า ปัง-สุ-กุ-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์ในสมัยพุทธกาลภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งแล้วจากกองขยะหรือจากป่าช้ามาทำจีวรใช้ ผ้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเปื้อนฝุ่นหรือสกปรก จึงเรียกว่าบังสุกุล (ดูผ้าป่า) ปัจจุบันมักเขียนหรือพูดผิดเพี้ยนไปว่า บังสกุล ด้วยออกเสียงง่ายกว่า
ความเป็นมาของผ้าบังสุกุล
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระภิกษุรับผ้านุ่งห่มจากฆราวาส แต่ให้พระภิกษุเก็บผ้าบังสุกุลหรือผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามร้านตลาดหรือผ้าห่อศพที่ไม่มีผู้ใดปรารถนา เพราะสกปรก มาซักล้างให้สะอาด แล้วเก็บไว้เพื่อนำมาตัดเย็บเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งที่ชำรุดเช่น ผ้านุ่งหรืออันตรวาสกหรือผ้าสบง ผ้าห่มหรือผ้าจีวรหรือผ้าอุตตราสงค์ หรือผ้าห่มซ้อนหรือสังฆาฎิ ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป
ต่อมา จึงมีพระบรมพุทธานุญาตให้รับผ้าจากฆราวาสได้ เพื่อเจริญศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกาผู้เลื่อมใส และบรรเทาความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในการแสวงหาผ้าอีกทางหนึ่งด้วย


th.wikipedia.org/wiki

14
เล่าเรื่องความฝัน คำทำนาย แก้เคล็ด / ฝันว่าได้ขึ้นสวรรค์
« เมื่อ: 20 มิถุนายน 2012, 18:35:56 »
ฝันว่าได้ขึ้นสวรรค์
ทายว่าจะได้เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง เปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานในทางที่ดี มีโชคมีลาภ

15
ประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรมและเทศกาลงานบุญ / พระภิกษุพร้อมญาติโยมร่วมปลูกต้นสาละ
« เมื่อ: 20 มิถุนายน 2012, 18:28:22 »
พระภิกษุพร้อมญาติโยมชาวบ้านผือ และใกล้เคียง ร่วมปลูกต้นสาละ
เนื่องในวันวิสาขบูชา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี
แห่งการตรัสรู้ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕


ณ วัดเจติยภูมิ (วัดพระธาตุขามแก่น)อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น













หน้า: [1] 2
Tweet
Stats for kaentong.com


  • SMF 2.0.18 | SMF © 2011, Simple Machines
    Simple Audio Video Embedder
  • XHTML
  • RSS
  • WAP2