ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา
»
หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์
»
ความหมายของคำว่า " ปฏิปทา "
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: ความหมายของคำว่า " ปฏิปทา " (อ่าน 2675 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
ความหมายของคำว่า " ปฏิปทา "
«
เมื่อ:
15 สิงหาคม 2012, 19:12:21 »
ความหมายของคำว่า "
ปฏิปทา
"
ปฏิปทา
แปลว่า
ทางดำเนิน ข้อปฏิบัติ แนวทางปฏิบัติ ความประพฤติ
ปฏิปทา 4 แบบ
ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทา 4 ประการ เหล่านี้ มีอยู่ คือ
( ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ) ปฏิบัติลำบาก
รู้ได้ช้า
( ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ) ปฏิบัติลำบาก
รู้ได้เร็ว
( สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ) ปฏิบัติสบาย
รู้ได้ช้า
( สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ) ปฏิบัติสบาย
รู้ได้เร็ว
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: ความหมายของคำว่า " ปฏิปทา "
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
15 สิงหาคม 2012, 19:15:12 »
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ( ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา )
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
( อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ )
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่งาม ในกาย อยู่
( อาหาเร ปฏิกฺกูลสัญญี )
เป็นผู้มีสำคัญว่าปฏิกูล ในอาหาร
( สพฺพโลเก อนภิรตสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดี ในโลกทั้งปวง
( สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี )
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง
( มรณสัญญา โข ปนสฺส อชฺฌตฺตํ สูปฏฺฐิตา )
มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ 5 ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
แต่ อินทรีย์ 5 ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้ ยังอ่อน
ภิกษุนั้น จึงบรรลุอนันตริยกิจเพื่อความสิ้นอาสวะ ได้ช้า
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ( ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา )
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: ความหมายของคำว่า " ปฏิปทา "
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
15 สิงหาคม 2012, 19:17:10 »
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ( ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา )
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
( อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ )
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่งาม ในกาย อยู่
( อาหาเร ปฏิกฺกูลสัญญี )
เป็นผู้มีสำคัญว่าปฏิกูล ในอาหาร
( สพฺพโลเก อนภิรตสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดี ในโลกทั้งปวง
( สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี )
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง
( มรณสัญญา โข ปนสฺส อชฺฌตฺตํ สูปฏฺฐิตา )
มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่
ภิกษุนั้น เข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ 5 ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
อินทรีย์ 5 ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้มีประมาณยิ่ง
ภิกษุนั้น จึงบรรลุอนันตริยกิจเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ( ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา )
ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: ความหมายของคำว่า " ปฏิปทา "
«
ตอบกลับ #3 เมื่อ:
15 สิงหาคม 2012, 19:18:56 »
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ( สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา )
ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
( วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ
สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
( วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ
อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชํ ปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
( ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ
ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้
( สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา
อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อนๆได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ 5 ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
แต่ อินทรีย์ 5 ประการเหล่านี้ ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้ ยังอ่อน
ภิกษุนั้น จึงบรรลุอนันตริยกิจเพื่อความสิ้นอาสวะ ได้ช้า
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ( สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา )
ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า
บันทึกการเข้า
ตามรอยพุทธ
Administrator
Hero Member
กระทู้: มากเกินบรรยาย
Re: ความหมายของคำว่า " ปฏิปทา "
«
ตอบกลับ #4 เมื่อ:
15 สิงหาคม 2012, 19:20:34 »
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ( สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา )
ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ
( วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ
สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
( วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ
อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชํ ปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
( ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ
ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้
( สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา
อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อนๆได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ภิกษุนั้น เข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ 5 ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
อินทรีย์ 5 ประการเหล่านี้ ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้มีประมาณยิ่ง
ภิกษุนั้น จึงบรรลุอนันตริยกิจเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ( สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา )
ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
»
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา
»
หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์
»
ความหมายของคำว่า " ปฏิปทา "
Tweet