(http://upic.me/i/sp/gihf6.jpg) (http://upic.me/show/50153327)
สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ
" มะเขือขื่น หรือ บักเขือขื่น "
(http://upic.me/i/5e/pwb57.jpg) (http://upic.me/show/50153331)
มะเขือขื่น เป็นมะเขือที่พบขึ้นตามป่าละเมาะ หรือที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว เนื่องจากคนส่วนใหญ่ระบุว่ารสชาติไม่อร่อย นิยมรับประทานอย่างกว้างขวางเฉพาะถิ่นภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ผลดิบสีเขียวต้มหรือลวกจิ้มกับน้ำพริกชนิดต่างๆ ผลแก่หรือสุกสีเหลืองหั่นเล็กๆ พร้อมกับพริกขี้หนูสดใส่ปลาจ่อม ปลาเจ่า หรือใส่แกงเหนือ แกงอีสาน หลายอย่างเพิ่มรสชาติได้ดีมาก
มะเขือขื่น นอกจากจะปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่างตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรอีกด้วย โดยตำรายาพื้นบ้านระบุว่า
ราก นำไปใช้เป็นยาขับเสมหะ ทำให้น้ำลายแห้ง แก้ไข้ สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ที่มีพิษร้อน โดยกะจำนวนพอประมาณต้มน้ำดื่ม หรือราก สามารถนำไปปรุงเป็นยาอื่น แก้กามตายด้าน บำรุงกำหนัด (เข้ายาตัวอื่น) ได้ผลดีระดับหนึ่ง
ผล แก่หรือสุกที่เปลือกผลเป็นสีเหลืองกิน แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไข้ สันนิบาตได้เช่นกัน คนในยุคโบราณนิยมกันแพร่หลาย
มะเขือขื่น หรือ SOLANUM XANTHOCARPUM อยู่ในวงศ์ SOLA-NACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง ตามลำต้นจะมีหนามแหลมสีแดงเกือบดำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ โดยในแผ่นใบจะมีหนามสีแดงเกือบดำเช่นกัน ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน สีเขียวสด
ดอกเป็นสีขาว ลักษณะดอกเหมือน กับดอกมะเขือทั่วไป ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเป็นพวงจำนวนหลายดอก "ผล" รูปทรงกลม กลีบเลี้ยงจะติดจนเป็นผล ผลดิบสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลืองอมส้มเล็กน้อย (ตามภาพประกอบคอลัมน์) เปลือกผลด้านในเป็นสีเขียว และเป็นเมือกเล็กน้อย รสชาติขื่นและเหนียว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ผลเมื่อโตเต็มที่ประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบ ขึ้นตามป่าละเมาะ หรือที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไปตามที่กล่าวข้างต้น ไม่นิยมปลูกตามบ้าน จะมีปลูกเพื่อเก็บผลขายเป็นสินค้าบ้างเล็กน้อย มีผลวางขายตามแผงจำหน่ายพืชผักพื้นบ้านทั่วไป มีชื่อ เรียกตามท้องถิ่นต่างๆในประเทศไทยอีก คือ มะเขือเปราะ, มะเขือสวย (ภาคกลาง) มะเขือขันคำ, มะเขือคางกบ, มะเขือคำ, มะเขือแจ้, มะเขือจาน, มะเขือแจ้ดิน (ภาคเหนือ) เขือพา, เขือหิน (ใต้) มั่งคิเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) และ มะเขือหิน (ภาคอีสาน)