ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz
สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา => หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: ศรัทธาธรรม ที่ 21 มิถุนายน 2012, 17:55:25
-
คำที่ใช้เรียก "พระภิกษุ"
ภาคเหนือ
คำว่า "ครูบา" ตามประเพณีล้านนา เป็นตำแหน่งที่คณะสงฆ์พิจารณาแต่งตั้ง โดยพิจารณาว่าพระรูปนั้นได้ทำ
ประโยชน์ให้กับสังคม และชาวบ้านให้ความยอมรับนับถือ โดยมากจึงเป็นพระที่มีพรรษามาก
และประเพณีเดิม หากครูบารูปนั้นมีเชื้อสายเจ้า ก็จะเรียกว่า "ครูบาเจ้า" แต่ภายหลังชาวบ้านจะใช้คำว่าครูบาเจ้าในความหมายว่าเป็นครูบาที่เคารพนับถือสูงสุดด้วย
ปัจจุบัน ไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งครูบาเป็นทางการอีก มีแต่ชาวบ้านที่นับถือภิกษุรูปใดมากเป็นพิเศษก็จะเรียกกันไปเอง ถ้าได้รับการยอมรับก็จะเรียกกันในวงกว้าง แต่ถ้าไม่ได้รับการยอมรับก็เรียกกันไม่กี่คนแล้วเงียบหายไปเอง
คำว่า ครูบา มาจากภาษาบาลีว่า ครุปิ อาจาริโย หรือ ครุปา แล้วก็เพี้ยนเป็น ครูบา
ภาคอีสาน
คำว่า ครูบา ไม่ใช่ว่ามีการใช้แพร่หลายจากเหนือไปทางอีสาน แต่ทางอีสานเขาก็มีคำนี้อยู่แล้ว เพียงแต่คนละวัฒนธรรม ความหมายจึงต่างกัน
คำว่า "ครูบา" ในประเพณีอีสาน หมายถึง
พระบวชใหม่ไม่เกิน 10 พรรษา
10 พรรษาขึ้นไป เรียก "อาจารย์"
20 พรรษาขึ้นไป เรียก "ครูจารย์"
30 พรรษาขึ้นไป เรียก "พ่อแม่ครูอาจารย์"
ปัจจุบัน ภาคอีสานจะเหลือแค่ ครูบา อาจารย์ และถ้าพรรษาเยอะ อายุเยอะ (60 ปีขึ้นไป) จะเรียกว่า หลวงปู่
แต่หากพระรูปนั้นมีครอบครัวมาก่อนบวชจะเรียกว่า หลวงตา (ต่างจากภาคกลางที่เรียกว่า หลวงตา ยกเว้นจะเป็นญาติตัวเองในระดับปู่ จึงจะเรียกว่า หลวงปู่)
นอกจากนี้ ในภาคอีสานยังมีคำเรียกพระ ว่า สำเร็จ ยาซา ยาคู ราชคู คำเรียกพวกนี้เป็นสมณศักดิ์ ปัจจุบันของไทยไม่มีแล้ว แต่ยังมีทางฝั่งลาว
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=08b139d12df6bc6f (http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=08b139d12df6bc6f)
-
ขอบคุณครับ