ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz

ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น => วิทยุสื่อสารและดวงดาวบนท้องฟ้า => ข้อความที่เริ่มโดย: kaentong ที่ 08 พฤษภาคม 2012, 19:53:18

หัวข้อ: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 08 พฤษภาคม 2012, 19:53:18
(http://image.ohozaa.com/i/c8e/xloy1f.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w3UYTjDU8AquInGU)


International Telecommunication Union : ITU

การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของรัฐได้รับประโยชน์สูงสุด

         จากคู่มือการบริหารความถี่แห่งชาติ  (Handbook of National Spectrum Management 2005) ที่จัดทำโดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union ; ITU) Radiocommunication Group 1 ได้แนวทางการทำ ระบบการบริหารความถี่ที่ประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Goals and Objectives) อย่างชัดเจน โดยที่เป้าหมาย (Goals) จะต้องถูกกำหนดโดยการเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ของชาติ

การบริหารความถี่แห่งชาติ (National Spectrum Management) มีความเกี่ยวพันธ์กับ กฎหมาย, นโยบาย, ข้อบังคับวิทยุสากล (Radio Regulations : RR) และการวางแผนความถี่ในระยะยาว ซึ่งการบริหารความถี่แห่งชาตินั้นจะต้องสามารถที่จะสนับสนุนการให้บริการใน ภารกิจขององค์กรสาธารณะต่างๆได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมไปถึงต้องสามารถสนับสนุนกิจการภาคธุรกิจด้านโทรคมนาคมและกิจการ Broadcasting  การวิจัย และกิจกรรมของวิทยุสมัครเล่นอีกด้วย

หัวข้อ: Re: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 08 พฤษภาคม 2012, 19:55:23
(http://image.ohozaa.com/i/7b2/Jg8Qx1.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w3UYWvs2GOF4SaRi)

ระบบการบริหารคลื่นความถี่ตามหลักของ ITU

          (1) โครงสร้างและการประสานงาน (Structure and coordination)

               การบริหารจัดการในการบริหารความถี่ในหลายประเทศ จะมอบหมายให้องค์กรเดียว กำกับดูแลการบริหารจัดการการใช้งานความถี่ทั้งหมด ในแนวทางนี้จะทำให้กระบวนการตัดสินใจและการจัดทำนโยบาย ง่าย ไม่ซับซ้อน และในแนวทางนี้อาจทำให้มีภาระงานมากเกินไป แต่สามารถลดภาระงานได้ด้วยการมอบอำนาจหน้าที่ให้กับคณะอนุกรรมการและคณะทำ งาน ดำเนินการแทน

               ในบางประเทศมอบหมายองค์กรมากกว่าหนึ่งองค์กร กำกับดูแลการบริหารจัดการการใช้งานความถี่ของชาติ แต่การที่มีองค์กรมากกว่าหนึ่งองค์กรนั้น จะทำให้เกิดการแบ่งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ จึงอาจเป็นผลให้เกิดความยุ่งยากในการประสานงาน และส่งผลให้ไม่มีเอกภาพในการบริหารจัดการ
หัวข้อ: Re: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 08 พฤษภาคม 2012, 19:57:27
(http://image.ohozaa.com/i/699/3k5Qte.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w3UYSXFdR3XJOChG)

(2) งานและหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารความถี่  (Spectrum management functional responsibility)

งานและหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารความถี่ของชาติ มีดังนี้

               2.1 วางแผนและออกกฎระเบียบในการบริหารความถี่ (Spectrum management planning and regulations)

               2.2 จัดการการคิดค่าธรรมเนียมความถี่ (Spectrum management financing, including fees)

               2.3 วางแผนการกำหนดความถี่วิทยุ (Allocation) การจัดทำแผนความถี่วิทยุหรือช่องความถี่วิทยุ (Allotment)

               2.4 การจัดสรรความถี่วิทยุ (Assignment) การอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ (Licensing) รวมไปถึงการกำหนดความถี่แบบที่ไม่ต้องมีใบอนุญาต (Non-license allocations)

               2.5 สร้างให้เกิดความร่วมมือและให้มีกิจกรรมประชาพิจารณ์

               2.6 สร้างความร่วมมือเพื่อการประสานงานด้านความถี่ ในระดับสากลและระดับภูมิภาค

               2.7 จัดทำมาตรฐาน (Standards) ข้อกำหนด (Specifications) และการอนุญาตให้ใช้และนำเข้าอุปกรณ์ (Equipment authorization)

               2.8 ติดตามดูแล เฝ้าระวัง การใช้ความถี่ (Spectrum monitoring)

               2.9 การบังคับใช้ กฏ ระเบียบและประกาศการใช้ความถี่  (Spectrum regulation enforcement) ซึ่งมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องคือ การตรวจสอบ (Inspections) และสืบสวนและสอบสวน (Investigations)

               2.10 สนับสนุนการบริหารจัดการในด้านต่างๆ เช่น กฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอัตโนมัต วิศวกรรมด้านความถี่ และการฝึกอบรม
หัวข้อ: Re: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 08 พฤษภาคม 2012, 20:00:26
(3)  ระบบการบริหารความถี่ระดับชาติ (National spectrum management system)

               องค์กรบริหารความถี่  ไม่ว่าจะมีรูปแบบเป็นองค์กรอิสระหรือเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารของภาครัฐ อาจจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ กฎหมาย ความเป็นมาของการกำกับดูแลความถี่ วัฒนธรรม และทรัพยากรด้านโทรคมนาคมของชาติ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องครอบคลุมงานและหน้าที่ความรับผิดชอบทั้ง 10 ข้อ ดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งงานต่างๆ อาจถูกแบ่งออก แยกหน่วยงานย่อยเพื่อมอบหมายให้รับผิดชอบตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร รูปต่อไปแสดงรูปแสดงระบบการบริหารความถี่ของชาติในบนพื้นฐานภาระงานและ หน้าที่รับผิดชอบ (National spectrum management system based on functional responsibilities)


(http://image.ohozaa.com/i/db5/Vs8Nxm.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w3UYUJyDgWUUFm80)

รูปแสดงระบบการบริหารความถี่ของชาติในบนพื้นฐานภาระงานและหน้าที่รับผิดชอบ
(National spectrum management system based on functional responsibilities)


จากรูประบบการบริหารความถี่ของชาติในบนพื้นฐานภาระงานและหน้าที่รับผิดชอบ มีงานย่อย ซึ่งสามารถอธิบายพอสังเขปได้ดังนี้

               3.1 วางแผนและออกกฎระเบียบในการบริหารความถี่ (Spectrum management planning and regulations)

               3.2 จัดทำและพัฒนาตารางกำหนดความถี่วิทยุ (Development of a national allocation table)

               3.3 การจัดสรรความถี่วิทยุและการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ (Frequency assignment and licensing)

               3.4 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าธรรมเนียมและกระบวนการการบริหารความถี่ (Relationship between spectrum fees and the spectrum management process)

               3.5 การจัดทำมาตรฐาน ข้อกำหนด และการอนุญาตให้ใช้และนำเข้าอุปกรณ์ (Radio standards specification and equipment authorization)

               3.6 การติดตามดูแล เฝ้าระวัง (Monitoring)

               3.7 การบังคับใช้ กฏระเบียบการใช้ความถี่  (Spectrum enforcement)

               3.8 สร้างความร่วมมือในระดับสากล (International cooperation)

               3.9 สร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค (National cooperation)
หัวข้อ: Re: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 08 พฤษภาคม 2012, 20:03:19
การจัดองค์กรของ ITU


          การบริหารคลื่นความถี่วิทยุ  เป็นกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรที่สำคัญด้านโทรคมนาคมของประเทศ และเป็นการบริหารการใช้ทรัพยากรความถี่วิทยุร่วมกันกับนานาชาติให้เกิดการ ดำเนินการสอดคล้องกัน (Harmonization) โดยมีลักษณะการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ในหลายสาขา (Multidisciplinary) ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสน์ศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ อีกหลายแขนง มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการนำทรัพยากรความถี่เกิดประโยชน์สูง สุดต่อ ประเทศชาติ และประชาชน

       แต่ละประเทศจะทำการออก  หลักเกณฑ์ ให้สอดคล้องกับข้อแนะนำ (Recommendation) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union; ITU) โดยที่หลักการบริหารความถี่วิทยุ (Spectrum Management) จะมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละประเทศ แต่โดยหลักจะมีการล้อตามหลักการและข้อแนะนำของ ITU (ITU Recommendation) และประเทศไทยก็เป็นสมาชิกของ ITU เช่นกัน

        สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union ; ITU) เป็นองค์กรชำนัญพิเศษภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติ (United Nation) ก่อตั้งเมื่อปี 1865 ถือว่าเป็นองค์กรระดับนานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นศูนย์รวมแห่งองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชนและนักวิชาการ ในการพัฒนาเครือข่ายและการให้บริการ  เป็นศูนย์กลางการกำกับดูแลในเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายในการบริหารทรัพยากร คลื่นความถี่และพัฒนากิจการโทรคมนาคมของนานาประเทศทั่วโลก ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Harmonization) อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมใช้เป็น เวทีสากลในการวางแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีและวางมาตรฐานให้เป็นไปในทิศทางเดียว กัน  รวมทั้งให้คำแนะนำกรอบนโยบายการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้แก่ประเทศสมาชิก ให้เกิดการประสานสอดคล้องกับแนวทางนโยบายของประเทศสมาชิกอื่นทั่วโลก  ตลอดจนวางกระบวนการระงับข้อพิพาทจากการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ร่วมกัน โดยปัจจุบัน ITU มีที่ตั้งอยู่ที่ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสแลนด์


หัวข้อ: Re: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 08 พฤษภาคม 2012, 20:05:25
(http://image.ohozaa.com/i/c68/JnTALH.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w3UYW9tmpfCVm4PS)

จากรูป ITU ประกอบไปด้วยมีหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน ดังนี้


1) Telecommunication Development (ITU-D)

          ITU-D ได้ถูกสถาปนาขึ้นในปี 1992 ภารกิจของ ITU-D มุ่งเน้นให้มีการบรรลุผลเพื่อให้มวลมนุษยชาติสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการให้บริการสารสนเทศและการสื่อสาร โดยให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกทางด้านเทคนิค บุคคลากร และเงินทุน ในการพัฒนาระบบสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) รวมไปจนถึงการสนับสนุนในการขยายผลให้มวลมนุษยชาติได้รับประโยชน์จาก ICT ยิ่งไปกว่านั้นยังรับผิดชอบเกี่ยวกับการนำแนวทางนำการโทรคมนาคมมาพัฒนา ประเทศที่ล้าหลัง โดยการจัดการศึกษา จัดกิจกรรม เกี่ยวกับการให้ความรู้ในการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งเป็นผู้ช่วยเหลือโดยตรงในการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมของประเทศกำลัง พัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาให้มีโอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT infrastructure)

โครงสร้างและหน้าที่ของหน่วยงานที่สำคัญนี้ (Structure and Functioning of the Development Sector) คือ

          • Telecommunication Development Conferences
          • The Istanbul Action Plan
          • ITU-D Study Groups
          • Telecommunication Development Advisory Group
          • Telecommunication Development Bureau
          • Field Operations and Regional Presence
หัวข้อ: Re: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 08 พฤษภาคม 2012, 20:07:54
(http://image.ohozaa.com/i/b45/39N0dq.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w3UYWvs2GR9MPghq)

รูปแสดง ภูมิภาค ตามการแบ่งพื้นที่โลกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)


2) Radio communications (ITU-R)  

          ITU-R เป็นหน่วยงาน 1 ใน 3  ซึ่งมีบทบาทในการบริหารคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency spectrum) ในระดับสากล และทำหน้าที่บริหารทรัพยากรวงโคจรดาวเทียม (Satellite orbit resources) อีกทั้งยังพัฒนามาตรฐานระบบวิทยุสื่อสาร โดยอยู่บนพื้นฐานของการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ โดย  ITU-R จะเป็นผู้กำหนดให้คำแนะนำตั้งแต่ คุณลักษณะทางเทคนิคอุปกรณ์และกระบวนการทำงานของอุปกรณ์ไร้สาย ตลอดจนการเป็นผู้ให้บริการไร้สาย อีกทั้งยังให้คำแนะนำในการบริหารทรัพยากรคลื่นวิทยุของแต่ละประเทศให้มีความ สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

          ITU-R ยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการใช้ความถี่วิทยุ ของโลก และเป็นนายทะเบียนความถี่วิทยุโลก ทำหน้าที่ในการจดบันทึกการใช้ความถี่วิทยุและประสานงาน เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนซึ่งกันและกันและนำความถี่วิทยุมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด

          ITU-R  เป็นผู้ออก Radio Regulations (RR) เพื่อให้ประเทศสมาชิกต่างๆ นำกฎระเบียบ ข้อบังคับ ไปกำกับดูแลการบริหารความถี่วิทยุของประเทศสมาชิก และใช้เป็นหลักอ้างอิงในการแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหาการรบกวนซึ่งกันและกัน (Harmful interfere)

          Radio Regulations (ข้อบังคับวิทยุสากล)  นั้นมาจากประเทศสมาชิกต่างๆ รวมทั้งความเห็นจาก ผู้ประกอบการ และผู้ผลิตในการจัดทำข้อตกลง ระเบียบข้อบังคับ มาเป็นหลักเกณฑ์ใช้ร่วมกันทั่วโลก โดยมีการทำข้อตกลงร่วมกันในประเทศสมาชิก (Commitment) โดยข้อตกลงต่างๆสามารถปรับปรุงตามการเปลี่ยนแปลงได้โดยเสนอในที่ประชุม World Radiocommunication Conferences (WRCs) ซึ่งมีการจัดขึ้นทุกๆ 3 หรือ 4 ปี ซึ่ง RR เป็นแนวทางและหลักปฏิบัติในการใช้งานความถี่วิทยุและวงโคจรดาวเทียม เพื่อลดการรบกวนความถี่วิทยุระหว่างกันให้น้อยที่สุด อีกทั้ง RR ยังมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่สากล (International allocations) ที่ ITU-R ผลิตและปรับปรุงขึ้นจากการประชุม WRC โดยการจัดสรรคลื่นความถี่สากลดังกล่าวได้แบ่งออกเป็นภูมิภาคดังแสดงในรูป

โครงสร้างและหน้าที่ของหน่วยงานที่สำคัญนี้ (Structure and Functioning of the Radio communication Sector) คือ

          • Radio communication Conferences and Assemblies
          • Radio Regulations Board
          • ITU-R Study Groups
          • Radio communication Advisory Board
          • Radio communication Bureau




หัวข้อ: Re: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 08 พฤษภาคม 2012, 20:10:58
3) Telecommunication Standardization (ITU-T)

          ITU-T มีหน้าที่กำกับดูแลให้มีการกำหนดมาตรฐานให้ครอบคลุมทุกส่วนของโทรคมนาคม อีกทั้งยังเป็นผู้ที่กำหนดแนวทางคิดค่าธรรมเนียมและหลักการทางด้านบัญชี สำหรับการให้บริการโทรคมนาคมในมาตรฐานสากล ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคมทั้งหมด เพื่อให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และผู้บริโภคไม่เสียประโยชน์จากการใช้อุปกรณ์โทรคมนาคม

         มาตรฐานอุปกรณ์โทรคมนาคมปัจจุบันมีหลากหลายชนิดและส่งข้อมูล (Voice, data or video messages) ไปบนเครือข่ายที่มีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นที่ต้องมีมาตรฐานในการเชื่อมต่อเครือข่าย มาตรฐานต่างๆนั้นผู้เชี่ยวชาญมาตรฐานโทรคมนาคมทั่วโลกเป็นผู้กำหนด ซึ่งจะมาจากคณะทำงาน ซึ่งคณะทำงานได้แก่ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย นักวิจัยจากภาครัฐและเอกชน หน่วยงานกำกับดูแล ของประเทศต่างๆ เป็นต้น

          โครงสร้างและหน้าที่ของหน่วยงานที่สำคัญนี้ (Structure and Functioning of the Standardization Sector) คือ

          • World Telecommunication Standardization Assemblies
          • ITU-T Study Groups, Lead Study Groups
          • Reporters, Focus, Tariff and Intersector Coordination Groups
          • Coordination with Other Organizations
          • Telecommunication Standardization Advisory Group
          • Telecommunication Standardization Bureau

          และหน่วยงานที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือ สำนักงานเลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (General Secretariat) ซึ่งมีหน่วยงานที่สำคัญทำหน้าที่ Research and Analysis คือ The SPU (Strategy and Policy Unit) แห่งสำนักงานเลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานที่ได้ทำการวิจัย วิเคราะห์ และทำสถิติเกี่ยวกับงานโทรคมนาคมทั้งหมด และเป็นสำนักงานเลขาธิการอีกด้วย
หัวข้อ: Re: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 09 พฤษภาคม 2012, 09:42:49
องค์ประกอบสหภาพ

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ จะมีสำนักเลขาธิการใหญ่ ซึ่งมีเลขาธิการ (อังกฤษ: Secretary General) เป็นผู้บริหารสูงสุด ในการบริหารจัดการงานรายวันของสหภาพฯ และภาคส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย 4 ภาคส่วน ในภารกิจด้านต่างๆ ดังนี้
1. ภาคการสื่อสารวิทยุ (ITU-R  , Radiocommunication Sector) - มีหน้าที่บริหารแถบคลื่นความถี่วิทยุระหว่างประเทศ และทรัพยากรต่างๆ สำหรับการโคจรของดาวเทียม ITU-R มีสำนักเลขาธิการเรียกว่า สำนักการสื่อสารวิทยุ (Radiocommunication Bureau, BR) ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1992 เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาการวิทยุระหว่างประเทศ (International Radio Consultative Committee, CCIR)
2. ภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม (ITU-T , Telecommunication Standardization Sector) - การกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม เป็นกิจกรรมที่มีมาช้านานของสหภาพฯ และเป็นภารกิจที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในระดับสากล ITU-T มีสำนักเลขาธิการเรียกว่า สำนักมาตรฐานโทรคมนาคม (Telecommunication Standardization Bureau, TSB) ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1992 เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาโทรเลขและโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (International Telephone and Telegraph Consultative Committee, CCITT)
3. ภาคการพัฒนาโทรคมนาคม (ITU-D  , Telecommunication Development Sector) - จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศในนานาประเทศ อย่างเท่าเทียม พอเพียง และด้วยค่าใช้จ่ายที่ยอมรับได้ ITU-D มีสำนักเลขาธิการเรียกว่า สำนักพัฒนาโทรคมนาคม (Telecommunication Development Bureau, BDT)
4.  ภาคการจัดงาน ไอทียู เทเลคอม (ITU TELECOM) - เป็นการจัดงานแสดงสินค้า การประชุม และนิทรรศการระหว่างประเทศ โดยนำเทคโนโลยีชั้นนำ จากอุตสาหกรรมไอซีทีมาจัดแสดง รวมทั้งเชิญรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน และผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศต่างๆ มาร่วมการประชุม เพื่อนำเสนอ และอภิปรายปัญหาการสื่อสารในระดับโลกด้วย
หัวข้อ: Re: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 09 พฤษภาคม 2012, 09:44:37
หน้าที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ


สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ มีหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐาน และกฎระเบียบ สำหรับการสื่อสารวิทยุ และโทรคมนาคมระหว่างประเทศ การกำหนดแถบคลื่นความถี่วิทยุ (อังกฤษ: Allocation of the Radio Spectrum) และบริหารจัดการ กรณีที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศ เช่น บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ อันเป็นภารกิจในเชิงโทรคมนาคม ในลักษณะเดียวกับการปฏิบัติงานของสหภาพสากลไปรษณีย์
หัวข้อ: Re: การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) กับ ITU
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 09 พฤษภาคม 2012, 09:47:26
หลักการการบริหารความถี่วิทยุที่สำคัญ

           1.สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)  และสมาชิกประเทศ ร่วมกันร่าง ตารางกำหนดความถี่วิทยุระหว่างประเทศ (Table of Frequency Allocations)
            2.ประเทศสมาชิกต่างๆ กำหนดนโยบาย และวางแผนการบริหารความถี่ประเทศของตนให้สอดคล้อง ตารางกำหนดความถี่วิทยุระหว่างประเทศ    และข้อบังคับวิทยุสากล
            3.Frequency Allocations จัดทำตารางกำหนดความถี่แห่งชาติ    (National Table of Frequency Allocations) ประเทศสมาชิกต่างๆ ต้องจัดทำตารางกำหนดความถี่วิของประเทศตนให้สอดคล้อง ตารางกำหนดความถี่วิทยุระหว่างประเทศ   
               4.Frequency Allotment การจัดทำแผนความถี่ในแต่ละกิจการทุกย่านความถี่ ให้สอดคล้องกับตารางกำหนดความถี่แห่งชาติ ข้อบังคับวิทยุสากล และข้อเสนอแนะของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-R) เพื่อใช้งานภายใต้เงื่อนไข อย่างเพียงพอต่อการใช้งานและไม่เกิดปัญหาการรบกวนซึ่งกันและกัน
             5.Frequency Assignment การจัดสรรความถี่วิทยุ จัดทำกระบวนการจัดสรรความถี่วิทยุให้เป็นไปตามแผนความถี่วิทยุในกิจการวิทยุคมนาคมนั้นๆ รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติผู้ขอรับการจัดสรรความถี่ซึ่งรวมถึงหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคม    ออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมประเภทต่าง ๆ เช่นใบอนุญาตทำ มี นำเข้า นำออก ค้า ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม และใบอนุญาตพนักงานวิทยุคมนาคมทั้งของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
           6.Standardization การกำหนดมาตรฐานทางเทคนิค และตรวจสอบลักษณะทางวิชาการเครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคม เป็นแนวทางการบริหารทรัพยากรคลื่นความถี่ด้วยวิธีการตรวจสอบเครื่องวิทยุคมนาคมที่จะผลิตและจำหน่ายให้มีคุณภาพสอดคล้องตามมาตรฐานสากล เพื่อเป็นหลักประกันว่าการติดต่อสื่อสารมีคุณภาพเชื่อถือได้ ตลอดจนเพื่อป้องกันมิให้เกิดการรบกันซึ่งกันและกันในระดับรุนแรง
             7.Spectrum monitoring  การตรวจสอบเฝ้าฟังการใช้ความถี่วิทยุ และแก้ไขปัญหาการรบกวนของคลื่นวิทยุ โดยตรวจสอบการใช้คลื่นวิทยุ ติดตามหาผู้กระทำผิดกฎหมายในการใช้คลื่นวิทยุ และจับกุมผู้ใช้คลื่นวิทยุอย่างผิดกฎหมาย
           8. Frequency coordination การประสานงานความถี่วิทยุทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ  เป็นการประสานการใช้คลื่นวิทยุของผู้รับอนุญาตสามารถใช้คลื่นวิทยุร่วมกันได้ โดยปราศจากการรบกวนซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศเพื่อกำหนดกฎ กติกาในการใช้คลื่นวิทยุ ตลอดจนประสานงานการใช้คลื่นวิทยุระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย