ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz

ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น => วิทยุสื่อสารและดวงดาวบนท้องฟ้า => ข้อความที่เริ่มโดย: E20ZSY- สระบุรี ที่ 14 เมษายน 2012, 19:36:12

หัวข้อ: Dummy Load (ดัมมี่โหลด)
เริ่มหัวข้อโดย: E20ZSY- สระบุรี ที่ 14 เมษายน 2012, 19:36:12
Dummy Load ดัมมี่โหลด หรือ โหลดเทียม,สายอากาศเทียม แล้วแต่จะเรียกน่ะครับ
    ทำไม เราต้องมีเจ้าตัว Dummy Load ใช้กันเนื่องมาจากว่า เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ เราใช้เมื่อต้องการวัดกำลังส่งของเครื่อง โดยไม่ต้องการให้คลื่นแพร่กระจายออกไปภายนอก ในทางปฏิบัติเราพยายามสร้างหรือจัดหา Dummy Load ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงความต้านทานบริสุทธิ์ให้มากที่สุดที่ย่านความถี่ต้องใช้งาน และเราสามารถใช้ประโยชน์จาก Dummy Load ได้หลายอย่างเช่น กำลังส่งของเครื่อง ใช้แทนสายอากาศ เมื่อเราต้องการจะพวงสายอากาศเข้าด้วยกัน เช่น การ Bay หรือ Stack สายอากาศยากิที่แต่ละต้นเราแมทต์ได้แล้ว
   หลักการ ก็คือการนำ อุปกรณ์ประเภทตัวต้านทาน ที่มีค่าเท่ากับค่าอิมพิแดนซ์ของสายอากาศ หรือ output ของเครื่องมือสื่อสาร เพื่อเป็น Load ที่มีค่า SWR = 1:1 แต่ในทางปฏิบัติย่อมมีค่าที่ผิดพลาดเล็กน้อย และจะใช้ตัวต้านทานตัวเดียวดังรูป อาจจะหาค่า 50 โอห์ม และทนกำลังวัตต์สูงๆได้ยาก จึงแนะนำให้ใช้ตัวต้านทานจำนวนหลายๆตัวมาต่อขนานกัน โดยค่าของแต่ละตัว เมื่อนำมาขนานกันแล้วต้องได้ค่า ความต้านทานรวม เท่ากับ 50 โอห์มด้วย
(http://image.ohozaa.com/i/297/QMqEv8.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w0PCVVyqQncISTsc)

อุปกรณ์ครับที่เราต้องใช้
(http://image.ohozaa.com/i/674/LEuGhm.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w0PCWhx77YhsmBJm)

1. ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนหรือแบบฟิล์ม ที่มีค่า 500 โอห์ม แบบผิดพลาด 5% หรือ 10% ก็ได้ ทนกำลัง 1 วัตต์ หรือ 2 วัตต์ จำนวน 10 ตัว ( อย่าใช่ตัวต้านทานแบบกระเบื้อง สีขาวทรงสี่เหลี่ยม เพราะ โครงสร้างเป็นลวดโลหะผสมที่ขดเป็นเหมือนลักษณะขดลวดคอล์ย ทำให้เวลานำมาใช้งานด้านความถี่สูง จะทำให้เกิดค่าความต้านทานผิดพลาด เนื่องจาก ค่าความถี่ที่เกิดจากค่า XL)
2. ขั้วหรือ Connector แบบ BNC สำหรับเครื่องชนิดมือถือ หรือ แบบ PL-259 สำหรับการต่อกับ SWR meter
3. ตะกั่วบัดกรี
4. สายไฟขนาดใหญ่ตามความเหมาะสม
การประกอบ
1.ควรทำการขูดขาตัวต้านทานให้สะอาด เพื่อที่จะบัดกรีได้ติดแน่น เพราะ อุปกรณ์ที่ใช้งานทางด้านความถี่สูงต้องพิถีพิถัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจะส่งผลต่อค่าต่างๆที่เกี่ยวข้อง
2.บัดกรีตัวต้านทานโดยให้ขาด้านหนึ่งติดกับกราวด์ของขั้ว BNC หรือ ขั้ว PL-259 โดยจัดให้ตัวต้านทานแต่ละตัวเรียงกันไปโดยรอบเป็นวงกลม เพื่อความสวยงาม และประโยชน์ในการระบายความร้อน แต่ที่ผมทำเวลาเอาขั้วของตัวต้านทานแต่ละมาต่อกันไม่สวยเท่าไหร่เนื่องจากว่า ไม่ได้เรียนอิเล็กทรอนิกมา ก็เลยตัดแผ่นพริ้นต์เป็นวงกลมประมาณเท่าเหรียญ 10 บาทครับ จำนวน 2 แผ่น แล้วเจาะรูโดยรอบจำนวน 10 รู
3.ต่อสายไฟจากขั้วสัญญาณของ BNC ออกมา
4.รวมขาของตัวต้านทานปลายอีกด้านหนึ่งเข้าด้วยกัน และบัดกรีสายไฟที่ต่ออกมาจากขัวกลางของ BNC เข้าด้วยกันด้วย
(http://image.ohozaa.com/i/674/1L6sPa.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w0PCWDvNpApP9KJq)

(http://image.ohozaa.com/i/c69/7DBa7F.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w0PCWDvNpxjBSHKM)

  ผลการทดสอบ
(http://image.ohozaa.com/i/3c5/tVdk38.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w0PCWZutH8olmq1W)
   ปรับตั้ง SWR Meter ก่อนวัดหรือกดคีย์

(http://image.ohozaa.com/i/3c5/2Zh3Jh.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w0PCWZutH9wFl5WU)
   เมื่อกดคีย์ค่าที่อ่านได้ใกล้เคียง 1 : 1.1 มากเลยครับ

(http://image.ohozaa.com/i/b2a/0nGxJx.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w0PCVVyqQm4oUdxe)
   ที่นี้ก็ทดสอบวัดกำลังส่งของเครื่อง IC-2GXET
กำลังส่ง Hi กำลังไฟ 13.8 Volt ครับ ได้เท่าไหร่ดูเองน่ะ

การดัดแปลงเพื่อพัฒนาต่อไป เราสามารถที่จะพัฒนาให้ทนกำลังส่งได้มากขึ้น โดยการ เลือกใช้ตัวต้านทาน ที่มีอัตราการทนกำลังได้มากขึ้น เช่น ถ้าใช้ 500 โอห์ม ทนกำลังตัวละ 10 วัตต์ จำนวน 10 ตัว ดัมมี่โหลดตัวนี้ก็จะทนกำลังได้รวม 100 วัตต์ แต่ว่า ตัวต้านทานแบบคาร์บอน กำลัง 10 วัตต์ ค่อนข้างหายาก หรืออาจจะใช้ตัวต้านทานจำนวนมากขึ้น แต่ก็ต้องเปลี่ยนค่าความต้านทานแต่ละตัว เพื่อให้การประกอบขนานกันแล้ว ได้ค่า 50 โอห์ม เช่น ตัวต้านทาน 1 ตัว ก็จะใช้ค่า 50 โอห์ม , 5 ตัว ใช้ค่า 250 โอห์ม , 10 ตัว ใช้ 500 โอห์ม เป็นต้น...

ขอขอบคุณ HS3PMT ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลครับ