ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz

คลังแห่งการเรียนรู้เพื่อสุขภาพ กีฬา และความสวยความงาน => ความรู้เพื่อสุขภาพ => ข้อความที่เริ่มโดย: HS4DRY ที่ 11 มิถุนายน 2012, 17:39:29

หัวข้อ: เห็ดมีพิษ
เริ่มหัวข้อโดย: HS4DRY ที่ 11 มิถุนายน 2012, 17:39:29
เห็ดมีพิษ

เห็ดระโงกหิน

(http://image.ohozaa.com/i/67b/vN1OI2.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w8hd3ZYz2JV4t9qK)

Amanita verna (Bull. Ex.Fr.) Vitt.
ชื่อพื้นเมือง เห็ดระโงกหิน เห็ด ไข่ตายซาก ( ฮาก)
เห็ดชนิดนี้มีสีขาวล้วน เมื่อยัง อ่อนมีเปลือกหุ้มสีขาวคล้ายเปลือกไข่ซึ่งด้านบนฉีกขาดออกเมื่อเห็ดเจริญโตขึ้น
หมวกเห็ด เป็นรูปกระทะคว่ำเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-12 เซนติเมตร ผิวมักจะมีเศษของเปลือกหุ้มดอกอ่อนที่ปริแตกออกเป็นชิ้นบางๆ
ติดอยู่บางส่วนซึ่งหลุดหายไปได้ง่าย ด้านล่างมีครีมสีขาวเรียงกันรอบก้านแต่ไม่ยึดติดกับก้าน
ก้าน ยาว 5-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 1.5 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก ผิวเรียบ
โคนก้านโปร่งเป็นกระเปาะใหญ่และมีส่วนล่างของเปลือกหุ้มดอกอ่อนติดอยู่ที่โคนเป็นรูปถ้วย บนก้านดอกบนมีวงแหวนเป็นแผ่นบางสีขาวซึ่งหลุดได้ง่าย
สปอร์ สีขาว รูปรีกว้าง ผิวเรียบ ผิวบาง ขนาด 8-11 x 7-9 ไมโครเมตรเห็ดชนิดนี้เกิดเป็นดอกเดี่ยวในป่าเบญจพรรณ


(http://image.ohozaa.com/i/079/vjxhww.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w8hd3i1ctrWChQTC)

Amanita virosa Secr.
ชื่อพื้นเมือง เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก เช่นกัน รูปร่างและสีของเห็ดเหมือน
ชนิดแรกต่างกันที่ A. virosa มีขนหยาบบนก้านและสปอร์ค่อนข้างกลมขนาด
8 – 10 ไมโครเมตร เห็ดชนิดนี้จะพบมากกว่าชนิดแรก
มีผู้รายงานเห็ดพิษในกลุ่มนี้ในประเทศไทยอีก 2 ชนิด (เกษม, 2537) คือ ชนิด Amanita phalloideses (Fr.) Secr. เห็ดนี้เป็นรูปร่างเหมือนเห็ด A.
verna และ A. virosa ต่างกันที่หมวกซึ่งมีสีเหลืองอ่อน เหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีน้ำตาลอ่อน และชนิด Amanita bisporigera ซึ่งเหมือน
A. verna และ A. virosa แต่มีขนาดเล็กกว่าและสร้างสปอร์เพียง 2 สปอร์บนก้านเบซิเดียม
เพื่อความปลอดภัยมีข้อควรระวังสำหรับเห็ดในกลุ่มนี้ไม่ควรรับประทานเห็ดสกุล Amanita หรือสกุลเห็ดไข่หรือเห็ดเห็ดระโงกขณะยังอ่อนมีเปลือกหุ้ม และไม่ควรรับประทาน
เห็ดในสกุล Amanita สกุล Galerina และสกุล Lepiota จนกว่าจะมีรายงานว่าเป็นเห็ดรับประทานได้
หัวข้อ: Re: เห็ดมีพิษ
เริ่มหัวข้อโดย: HS4DRY ที่ 11 มิถุนายน 2012, 17:44:13
เห็ดกระโดงตีนต่ำ

(http://image.ohozaa.com/i/0ab/mHHAzN.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/w8hg7EBqKpagGTQ2)

เห็ดหัวกรวดครีบเขียว, เห็ดกระโดงตีนต่ำ : Chlorophyllum molybdites (Meyer ex Fr.) Mass.
พบบนพื้นดิน ขึ้นตามสนามหญ้าและทุ่งนาทั่วทุกภาคในประเทศไทย มีพิษทำให้เกิดอาการมึนเมา คลื่นเหียนและอาเจียน
ลักษณะของดอกเห็ด เมื่ออ่อนลักษณะเป็นก้อนกลมแล้วเจริญบานออกเป็นรูปร่ม ขึ้นตามสนามหญ้า และทุ่งนา หมวกเห็ด มีสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ถึง 20 เซนติเมตร กลางหมวกมีสีน้ำตาล ซึ่งแตกออกเป็นเกล็ดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมกระจายออกไปถึงกึ่งกลางหมวกครีบสีขาว เมื่อเจริญมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีขาวอมเขียวอ่อน สีของครีบจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ เป็นสีน้ำตาลอมเขียวหม่น เมื่อดอกแก่จัดสีของครีบจะเป็นสีเทาอมเขียวหม่น ครีบไม่ติดกับก้าน ก้านมีรูปทรงกระบอกสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน ยาว 6 ถึง 20 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ถึง 1.8 เซนติเมตร โคนก้านใหญ่ เป็นกระเปาะเล็กน้อย ภายในมีรูกลวงเล็กๆ ตลอดก้านใต้หมวกมีวงแหวนใหญ่และหนา ขอบบนสีน้ำตาล ขอบล่างสีขาว เมื่อแก่จัดวงแหวนจะหลุดเป็นปลอก เนื้อในเห็ดสีขาวตัดแล้วมีสีแดงเรื่อๆ สปอร์รูปไข่สีเขียวอ่อน ขนาดกว้าง 6.5 ถึง 8 ไมครอน ยาว 9 ถึง 11 ไมครอน ผิวเรียบ ผนังหนา ปลายบนมีรูเปิด 1 รู
อาการพิษ ทำให้เกิดอาการมึนเมา คลื่นเหียน และอาเจียน

ที่มา
http://www.bbznet.com (http://www.bbznet.com)
http://scratchpad.wikia.com (http://scratchpad.wikia.com)
หัวข้อ: Re: เห็ดมีพิษ
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 11 มิถุนายน 2012, 18:20:48
บอกล้ากินดอก ย่านตาย