ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz

คลังแห่งการเรียนรู้และประสบการณ์ชีวิต => โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ IT => ข้อความที่เริ่มโดย: kaentong ที่ 08 ตุลาคม 2015, 21:07:12

หัวข้อ: วันที่ 2 ต.ค.58 เริ่มมาตรการเยียวยาผู้ใช้โทรศัพท์มือถือคลื่น 900 MHz ของ AIS วันแรก มั่นใจใช้ได้ต่อเนื่อง ซิมไม่ดับ
เริ่มหัวข้อโดย: kaentong ที่ 08 ตุลาคม 2015, 21:07:12
วันที่ 2 ต.ค.58 เริ่มมาตรการเยียวยาผู้ใช้โทรศัพท์มือถือคลื่น 900 MHz ของ AIS วันแรก มั่นใจใช้ได้ต่อเนื่อง ซิมไม่ดับ

เริ่มมาตรการเยียวยาผู้ใช้โทรศัพท์มือถือคลื่น 900 MHz ของ AIS วันแรก มั่นใจใช้ได้ต่อเนื่อง ซิมไม่ดับ

              นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า วันนี้ตามกฎหมายสัญญาสัมปทานคลื่น 900 MHz ระหว่าง TOT และ AIS ได้สิ้นสุดลงแล้ว
 คลื่นความถี่ต้องคืนกลับมาเป็นของสาธารณะ  ซึ่ง กสทช. โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จะนำไปจัดสรรใหม่ ด้วยวิธีการประมูลเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน วันนี้ (1 ต.ค. 2558) เป็นวันแรกของมาตรการเยียวยาคุ้มครอง ผู้บริโภคจะรองรับการสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ซึ่งประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือคลื่น 900 MHz ของ AIS จะยังคงใช้งานต่อไปได้อย่างต่อเนื่องจนกว่า การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz จะแล้วเสร็จและได้ผู้ให้บริการรายใหม่ ในขณะที่ยังอยู่ในช่วงระยะเวลาเยียวยา AIS และ TOT ยังคงต้องให้บริการตามปกติด้วยคุณภาพและมาตรฐานตามเดิม ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าซิมจะไม่ดับ สำหรับผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ คลื่น 900 MHz ของ AIS ที่มีความต้องการจะย้ายไปใช้บริการค่ายใหม่สามารถย้ายไปใช้บริการกับค่ายใหม่โดยใช้เบอร์เดิมได้ตามต้องการ

             ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาคุ้มครอง เงินรายได้ที่เกิดจากการให้บริการที่จะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า
อัตราร้อยละของส่วนแบ่งรายได้ที่ผู้ให้บริการเคยนำส่งภายใต้สัญญาสัมปทาน ณ วันสุดท้ายก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
“ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 MHz ของ AIS เครือข่าย 2G ยังคงสามารถใช้บริการได้เหมือนเดิม ซึ่งหากอนาคต การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เสร็จสิ้น ผู้ใช้บริการก็มีสิทธิเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนไปใช้ 3G 4G หรือยังคงใช้ 2G เช่นเดิม
กรณีที่จะใช้ระบบ 2G หากผู้ให้บริการรายใหม่ไม่ได้ให้บริการในระบบดังกล่าว ผู้ใช้บริการก็สามารถย้ายค่ายโทรศัพท์มือถือ
ไปยังผู้ให้บริการอื่นที่ให้บริการระบบ 2G ได้” นายฐากร กล่าว