ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz

สถานที่ท่องเที่ยวและคลังแห่งการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา => หลักธรรม คำสอนและบทสวดมนต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: ตามรอยพุทธ ที่ 23 พฤษภาคม 2013, 09:52:58

หัวข้อ: คำว่า “ ละสังขาร ” “ มรณภาพ ” และ " ดับขันธ์ " ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: ตามรอยพุทธ ที่ 23 พฤษภาคม 2013, 09:52:58
คำว่า “ ละสังขาร ” “ มรณภาพ ” และ" ดับขันธ์ "
 ใช้ต่างกันอย่างไร


หัวข้อ: Re: คำว่า “ ละสังขาร ” “ มรณภาพ ” และ " ดับขันธ์ " ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: ตามรอยพุทธ ที่ 23 พฤษภาคม 2013, 09:53:57
ดับขันธ์ ใช้กับ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า เช่น ดับขันธ์ปรินิพพาน

ละสังขาร ใช้กับ ครูบาอาจารย์ พระเถระ ผู้เป็นพระอริยเจ้า พระผู้เป็นที่เคารพ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู หรือใช้มรณภาพก็ได้ (พอใช้มรณภาพแล้วรู้สึกไม่ดี = ความเห็นส่วนตัว)

มรณภาพ ใช้กับ พระสงฆ์ชั้นผู้น้อย หรือสมมุติสงฆ์ทั่ว ๆ ไป
หัวข้อ: Re: คำว่า “ ละสังขาร ” “ มรณภาพ ” และ " ดับขันธ์ " ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: ตามรอยพุทธ ที่ 23 พฤษภาคม 2013, 09:57:49
ละสังขาร กับ มรณภาพ


มีพยัญชนะต่างกันแต่โดยอรรถเหมือนกัน

สังขาร ในความหมายที่ เป็นเหตุของอวิชชา "เพราะมีอวิชชา
เป็นปัจจัยจึงมีสังขาร" เป็นไปในความปรุงแต่งต่างๆ

โดยปริยาย โดยอ้อมหมายถึง

การละสังขาร (๓) ความปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจ เรียกว่า
กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารโดยเฉพาะทางใจ
มีคำที่ใช้กันคือคำว่า อภิสังขาร ๓ ได้แก่ ปุญญาภิสังขาร ๑
ความปรุงแต่งฝ่ายบุญ อปุญญาภิสังขาร ๑ ความปรุงแต่งฝ่ายบาป
และ อเนชญาภิสังขาร ความปรุงแต่งจิตหรือ "ภพ" ที่มั่นคงไม่หวั่นไหว.

เช่นเมื่อคนเรา มีเจตนามีใจ ปรุงแต่งด้วย ปุญญาภิสังขาร
การปรุงแต่งฝ่ายกุศลฝ่ายบุญ จึงมีการปรุงแต่งของใจต่อไป
โดยเชื่อมโยงกับการกระทำของใจเป็นหัวหน้าเป็นประธาน
เป็นเจ้าภาพ ปรุงแต่งทางวาจา ปรุงแต่งทางกาย เพราะใจ ฯลฯ

ดังนั้น โดยปริยาย โดยอ้อมจึงหมายถึง การละอกุศลที่เป็น
ไปในใจ ในกาย ในวาจา ด้วยกุศล ด้วยบุญ ละหรือสังวรด้วย
ศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ก็ล้วนละล้วนกระทำลงที่ใจ ที่วาจา
ที่กายที่ปรุงแต่งอยู่นี้ หรือบุคคลที่มี

อปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งจิต เจตนา กรรม ในฝ่ายบาปอกุศล
ก็ละกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ละกายสังขาร วจีสังขาร
มโนสังขารในทางกุศล โดยเข้าจับกระทำไปด้วยเจตนาที่
เป็นอกุศล ปรุงแต่งใจ ปรุงแต่งคำพูด ปรุงแต่งการกระทำฯลฯ

นี่จึงเป็นความหมายของการละ โดยปริยยาย เป็นไปขณะหนึ่งๆ
อยู่เนื่องๆ บ่อยๆ ด้วยความสืบต่อของสภาพธรรมทั้งหลาย
การละสังขารโดย ปริยาย โดยอ้อมจึงมีด้วยประการฉะนี้

โดยนิปริยาย โดยตรงหมายถึง

ละ(อายุ)สังขาร ตั้งแต่ปฏิสนธิหรือเกิดขึ้นตั้งแต่ในท้องมารดา
ละขณะปฏิสนธิเข้าสู่ปฐมวัย ละสังขาร(ความปรุงแต่ง)ขณะปฐมวัย
ล่วงเลยเข้าสู่มัชฌิมาวัย ละสังขารในมัชฌิมาวัยล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย
และละสังขารอัตตภาพร่างกายที่เข้าสู่ปัจฉิมวัย เข้าสู่กาลมรณะ
คือ ความแตกดับของธาตุ ๔ มหาภูตรูป ๔ นามขันธ์ ๓ เวทนา
สัญญา สังขารและค่อยถึงการดับของวิญญาณ จุติจิตของนามรูป

ที่ยังไ่ม่หมดสิ้น ตัณหาอุปาทาน จำต้องปฏิสนธิในภพใหม่ต่อไปตาม
อำนาจกิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ เมื่อยังละภพน้อยใหญ่ไม่ได้
ยังไม่บรรลุมรรคญาณผลญาณ เบื้องต่ำ ก็จำต้องเกิดอยู่ ปฏิสนธิจุติ
อยู่อย่างแล้วๆ เล่าๆ จนกว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ข้ามพ้นวัฏฏะ รื้อ
ตัณหาอุปาทานที่จะพาเกิด พาตายใน สังสารวัฏฏ์ การทำกาละ หรือ
ความแตกดับของนามรูป ที่ยังมีอวิชชา

จึงยังมีอำนาจนำสัตว์ทั้งหลายให้เคลื่อนไปสู่ ปฏิสนธิ เสมอๆ เนื่องๆ
การละั(อายุ)สังขารโดยปริยายของปุถุชนคือ สิ้นชีพ(ดับไปของกองขันธ์-
[เพลิงทุกข์]) แต่ไม่สิ้นอุปาทาน(ยังดับ[เพลิงกิเลส]ไม่ได้เลย!)
การละสังขารโดยปริยายของ เสขะบุคคล ของอริยบุคคลคือ การละ
นามรูปที่ยังไม่สิ้นสังโยชน์เบื้องสูง โดยสิ้นแต่เพียงสังโยชน์เบื้องต่ำ
ดับเพียงกองกิเลส (สอุปทิเสสนิพพานตามภูมิ) ยังเหลือกองทุกข์
(ขันธวิมุตติตามภูมิของตน จนกว่าจะปรินิพพาน)

มีการละอัตตภาพ ละสังขารโดย นิปริยาย โดยตรง มีเพียงพระอรหันต์
ที่เรียกว่า ปรินิพพาน ดับทั้งเพลิงกิเลส(สังโยชน์ ๑๐ สิ้นเชิง)
และเพลิงทุกข์(กองธาตุ ขันธวิมุตติโดยสิ้นเชิง)
หัวข้อ: Re: คำว่า “ ละสังขาร ” “ มรณภาพ ” และ " ดับขันธ์ " ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: ตามรอยพุทธ ที่ 23 พฤษภาคม 2013, 09:59:26
มรณภาพ ตามคติทางพุทธศาสนา

มี ๓ อย่างคือ สมมติมรณะ ๑ ขณิกมรณะ ๑ สมุทเฉจมรณะ ๑
การแตกดับทำลายลงของสังขาร ความปรุงแต่งต่างๆ ที่ยึดถือไม่ได้
ว่าเป็นสัตว์บุคคล แต่ว่าสภาพความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของสภาวะ
สภาพธรรมมีอยู่ เป็นอนัตตา จึงมีอยู่โดยสมมติ การตายของ สัตว์นรก
เปรต อสูรกาย สัจเดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ล้วนเป็นสมมติ -
มรณะทั้งสิ้น เพราะปราศจากสภาพสัตว์ตัวตนบุคคล แต่สภาพหรือสภาวะ
ธรรมนั้นๆ ได้แก่นามรูป มีอยู่อย่างนั้นโดยจริงแท้ จึงเรียกว่า สมมติมรณะ

ส่วนการเกิดขึ้น(อุปาทะขณะ) ความตั้งอยู่ (ฐิติขณะ) ความเสื่อมไป
(ภังคะขณะ) ก็มีนัยเช่นเดียวกับ การละสังขารที่เป็นฝ่ายบุญ และฝ่ายบาป
เมื่อความเกิดขึ้นของปุญ มีการปรุงแต่งกายวาจาใจฝ่ายบุญอยู่ ก็มีการละ
การปรุงแต่งฝ่ายบาปโดยปริยาย เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของบาป ก็เป็นการ
ไม่ตั้งอยู่ หรือเสื่อมไปของบุญ มีความตั้งอยู่ของบาป ขณะเป็นไปโดย
พลันโดยรวดเร็ว อย่างนี้จึงเรียกว่า ขณิกมรณะ

สุดท้าย การดับทั้งเพลิงทุกข์(ขันธ์) เพลิงกิเลส(อุปาทานขันธ์) โดยสิ้นเชิง
ของพระอรหันต์ จึงเป็นถึงนับหรือเรียกได้เท่ากับ ปรินิพพาน หรือ
สมุทเฉจมรณะนั่นเอง เป็นการตัดสิ้นซึ่งอวิชชาโดยไม่เหลือ ถึงบรมสุข
ถึงอมตบท คือพระนิพพาน สูญ...ก็สูญ(สังขตธรรม)สิ้นไปจากกิเลสอาสวะทั้งปวง
ไม่สูญ...ก็ไม่สูญความเที่ยง ความไม่ปรุงแต่ง(อสังขตธรรม) ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย
บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง(จำต้องกล่าวไว้เพื่อกัน ทิฏฐิอันสุดโต่งระหว่าง -
สัตตทิฏฐิ และอุทเฉจทิฏฐิ)

พรรณาบัญญัติ โวหารแห่งคำว่า ละสังขารและมรณภาพแต่โดยสังเขป(ย่อ)
แต่เพียงเท่านี้ขอความเจริญงอกในพระสัทธรรมจงมีแด่กัลยาณมิตร เจริญพร^^

และอนุโมทนากับความเห็นของกัลยาณมิตรข้างต้นด้วยนะครับ
ในพระไตรปิฏก ก็มีคำว่า ละสังขาร และมรณภาพ ที่แปลเอาไว้
ใช้กัน เพื่อนๆ ให้คำอธิบายในการใช้คำไว้ดีแล้ว/color]
หัวข้อ: Re: คำว่า “ ละสังขาร ” “ มรณภาพ ” และ " ดับขันธ์ " ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: ศรัทธาธรรม ที่ 23 พฤษภาคม 2013, 12:46:04
สาธุ