ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นแก่นทอง จังหวัดขอนแก่น ความถี่ 144.750 MHz

ข้อมูลข่าวสารทั่วไป => ข้อมูลข่าวสารทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: reauma ที่ 30 พฤศจิกายน 2014, 11:19:56

หัวข้อ: “ความจริง ปรส.” ที่ ปชป. ไม่เคยกล่าวถึง
เริ่มหัวข้อโดย: reauma ที่ 30 พฤศจิกายน 2014, 11:19:56
เป็นวิวาทะกันมาร่วมอาทิตย์กว่าสำหรับ กรณี องค์การเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน : ปรส.ระหว่างฝ่ายสนับสนุนพรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ ถึงขั้น “สอนมวย” กันเลยทีเดียว แต่ที่แน่ๆ งานนี้เห็นทีจะไม่พ้นยุทธศาสตร์ “โบ้ยทักษิณ” อีกแล้ว วันนี้ จึงขอนำเสนอ “ความจริง” ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยกล่าวถึงเพื่อความชัดเจนดังนี้

1. รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (พ.ศ. 2539-2540) ได้ออก พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 จัดตั้ง “องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส.” (Financial Secter Restructuring Authority: FRA) ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540

2. รัฐบาล พล.อ.ชวลิต แต่งตั้งคณะกรรมการ “ปรส. ยุคชวลิต” โดยมี นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เป็น ประธาน ปรส. ชุดแรก ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540

3. รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540

4. พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลชวลิต และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้ง ปรส. แต่อย่างใด

5. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อการลอยตัวค่าเงินบาท กล่าวคือ “ปรส. ยุคชวลิต” ได้สิ้นสุดลงหลังจัดตั้งกองทุนได้เพียง 16 วันเท่านั้น

6. นายชวน หลีกภัย ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยที่ 2 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 (รัฐบาลชวน 2 : พ.ย. 40 – ก.พ. 44)

7. รัฐบาลชวน 2 ได้มีการสรรหาผู้เหมาะสมเข้ามาเป็นประธาน ปรส. แทน นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ที่ลาออก โดยนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น เป็นผู้ทาบทาม นายอมเรศ ศิลาอ่อน

8. รัฐบาลชวน 2 ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการ “ปรส. ยุคชวน” โดยมี นายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธาน ปรส. และนาย วิชรัตน์ วิจิตรวาทการเป็นเลขาธิการ ในวันที่ 23 ธันวาคม 2540 ซึ่งภายหลังนายวิชรัตน์ มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ จึงมีการแต่งตั้ง นายมนตรี เจนวิทย์การ เป็นเลขาธิการ ปรส. แทน

9. “ปรส. ยุคชวน” แต่งตั้งโดยรัฐบาลชวน2 สั่งปิดกิจการถาวร 56 สถาบันการเงิน

10. “ปรส. ยุคชวน” แต่งตั้งโดยรัฐบาลชวน 2 ดำเนินการนำสินทรัพย์ 56 สถาบันการเงิน ประมูลขายแบบ “เหมาเข่ง” ในราคา “เลหลัง” กล่าวคือสินทรัพย์ที่นำไปประมูลขายทอดตลาด ได้รับการประเมิณว่ามีมูลค่า สูงถึง 851,000 ล้านบาท ถูกขายทอดตลาดไปเพียง 190,000 ล้านบาท เท่านั้น

11. รัฐบาลชวน 2 ตราพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ เพื่องดเว้นภาษีแก่ผู้ซื้อสินทรัพย์ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนต่างประเทศ และ ยกเว้นภาษีให้กองทุนรวมฯ เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายซื้อ ใช้กองทุนรวมฯ (กองทุนต่างชาติ) ที่ไม่มีสิทธิเข้าประมูล เข้ามาใช้สิทธิ์ได้รับยกเว้นภาษีฯ